Rainbow Lucky Charms

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 1  ธันวาคม 2557
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433





ในรายสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์การเรียนการสอนครั้งสุดท้ายของภาคเรียนที่ 1 โดยอาจารย์มีการพูดคุยกับนักศึกษาและบอกข้อสอบปลายภายเพื่อให้นักศึกษาไปอ่านและไปเตรียมความพร้อมมา

ความรู้และความรู้สึกที่ได้รับในการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


      ในการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษสิ่งที่ดิฉันได้รับคือ   รู้จักประเภทของเด็กพิเศษ  การอบรม การช่วยเหลือในทางที่ถูกต้อง และการส่งเสริมที่ถูกวิธี โดยในรายวิชานี้ที่อาจารย์นำมาสอนสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้  และได้รู้อะไรหลายๆอย่างจากที่ไม่มีความรู้มาก่อน  อาจารย์มีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย ทั้งสอนการทำบล็อกซึ่งดิฉันไม่เคยทำมาก่อน  และไม่มีความเข้าใจในเรื่องการทำบล็อก  บล็อกจึงออกมาไม่ค่อยดี  เเต่พอเราทำทุกสัปดาห์เราก็เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  จนสัปดาห์สุดท้ายจึงมีความบรรเจิดและรู้ว่าภาคเรียนที่ 2  เราจะสามารถทำบล็อกได้สวย   
     หนูต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่คอยเตือนสติอยู่บ่อยๆว่า ทำไมเทอมนี้ไม่ค่อยสนใจเรียนเลย  พอหนูฟังบ่อยๆก็เครียดเเล้วก็มาพัฒนาตนเอง  จนคิดว่าน่าจะโอเคแล้ว คือ มาทำบล็อกใหม่ใส่ข้อมูลเพิ่มลงไป  เเต่มันก็จริงที่อาจารย์มาเตือนเพราะบล็อกหนูไม่มีอะไรเลย  เพราะไม่ค่อยมีความสามารถในเรื่องการทำบล็อก ไม่มีความถนัดเลย  แต่พอหลังๆมาเกิดการเรียนรู้ แล้วพอเข้าไปดูของเพื่อน แล้วมาดูของเรามันก็ท้อ จากนั้นก็มาพัฒนาของตนเองให้มันออกมาในสภาพที่ดูดี  หนูอยากเรียนกับอาจารย์อีกอาจารย์บทตัวอย่างครูที่ดี คือ การสอนแบบเข้าใจนักศึกษา สอนไม่เครียด ไม่กดดัน ซึ่งเวลาเรียนทำให้มีความสุขและอยากเรียนกับอาจารย์อีก  และอยากให้อาจารย์น่ารักแบบนี้ตลอดไป เป็นครูที่ดีและเข้าใจนักศึกษาแบบนี้ตลอดไป  ขอบคุณที่ให้ความรู้ลูกศิษย์แบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ  โอ้ยไม่ร้องนะ 555555  

                                   

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

28 พฤศจิกายน 2557

สัปดาห์ที่ 15

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 23  พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433






      ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ผู้สอนได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น  เเละบอกให้นักศึกษาทราบว่าระวังจะเข้าใจผิดระหว่างเด็กไฮเปอร์ กับเด็กสมาธิสั้น เพราะมีลักษณะคล้ายกัน และอาจารย์ได้อธิบายความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น ไว้ดังนี้


เด็กสมาธิสั้น


การดูแลและการส่งเสริมเด็กสมาธิสั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้


-การใช้ยา

-การฝึกฝนการควบคุมตนเอง
-การปรับสภาพเเวดล้อม

1.การใช้ยา 

-ยาที่ใช้ต้องมีความปลอดภัย 
-สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิที่ดีขึ้น  และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
-ส่งผลให้การเรียนดีขึ้น  ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น
2.การปรับพฤติกรรมการควบคุมตนเอง
-ควรลงโทษให้ถูกวิธี
-ควรให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี
-ควรจัดกิจกรรมประจำวันของเด็ก  อย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
3.การปรับสภาพเเวดล้อม
- จะต้องไม่กระตุ้นเด็กมากเกินไป
- จะเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
- เวลาการทำงานควรจัดมุมที่สงบ
- ห้องเรียนต้องไม่กว้างเกินไป


การสื่อสารกับเด็กสมาธิสัั้น
-สังเกตจากความพร้อมหรือ การมีสามธิของเด็ก
-ควรมีภาษาท่าทาง เวลาคุยด้วยต้องจับมือ  และสัมผัสตัวเด็ก
-ไม่ควรใช้คำพูดที่กระชับ  ได้ใจความชัดเจน
-ควรเข้าไปหาเด็กและใช้การกระทำร่วมด้วย
-ในกรณีที่มีกิจกรรมหลายอย่างให้เด็กทำ  ควรบอกทีละอย่าง  ให้เสร็จทีละอย่าง
-หากเด็กกำลังเหม่อลอย ไม่สนใจ  ครูควรพูดคุยกับเด็ก







กิจกรรมบำบัด
1. Physical  Exertion
2.Self  Control  ควบคุมตนเอง
3.Relaxation Training ผ่อนคลาย

โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
-โรงเรียนที่เด็กสามารถเข้าเรียนปกติได้  เรียนร่วม
-สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนที่เหมาะ
-มีพื้นที่สนามเด็กเล่น
-โรงเรียนที่ให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือ

บทบาทครู
-ครูให้เด็กมีกิจกรรม  เปลี่ยนอริยบทบ้าง
-ไม่ควรลงโทษเด็กรุนเเรง
-ควรสื่อสารกับเด็กให้ถูกต้อง
-ให้ความชื่นชม  ให้ความสนใจ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
-ที่นั่งของเด็กไม่ควรจัดให้ชิดหน้าต่าง
- ที่นั่งของเด็กไม่ควรชิดประตู

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็ก
-สำนักบริหารการศึกษา
-โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-ศูนย์การศึกษาพิเศษ
-โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-สถาบันราชานุกูล
-มูลนิธิสถาบันเเสงสว่าง








ค้นคว้าเพิ่มเติมหลังการเรียนการสอน

ลักษณะเด็กสมาธิสั้น  (ADHD)



อยู่ไม่นิ่ง  ทำอะไรไม่ได้นาน



ทำอะไรไม่ได้นาน ครูต้องคอยกระตุ้นเด็กอยู่บ่อยๆ 



ซุกซน 






ประเมินรายสัปดาห์

ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้หนูเเต่งกายเรียบร้อย  และตั้งใจฟังอาจารย์สอน  
แต่ก็ฟังไปเล่นไปเเต่ก็จดบันทึกความรู้ไว้   การเข้าเรียนก็ตรงต่อเวลา

ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนๆไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน  จนทำให้อาจารย์มีการตำหนิเล็กน้อย  เพื่อนบางคนนั่งหลับและพูดคุยกัน  เเต่เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย 

ประเมินครูผู้สอน 
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ตั้งใจสอน แต่เพื่อนไม่ตั้งใจฟัง หนูรู้นะอาจารย์นอย  
เเต่อาจารย์น่ารัก เข้าสอนตรงเวลา แล้วปล่อยเร็วด้วยเพราะกลัวเด็กๆจะหิว   อาจารย์เเต่งกายเรียบร้อย และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กๆ  



วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

21 พฤศจิกายน 2557

สัปดาห์ที่ 14

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 16  พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433


   


       สรุปรายสัปดาห์ ในรายสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน  แต่อาจารย์ได้ให้ไปเข้าร่วมกิจกรรมปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย  แล้วให้นักศึกษามาสรุปลงบล็อก  โดยงานนี้ดิฉันก็ได้ไปเข้าร่วมตั้งเเต่เริ่มงานจนจบงาน  และคิดว่าเพื่อนๆเอกปฐมวัยทุกคนมีความสามารถทุกคน  เพราะทุกคนตั้งใจให้งานนี้ออกมาดี  และทุกคนต่างมีหน้าที่ที่เเตกต่างกันไป  บางคนก็รำ  บางคนก็อยู่ฝ่ายสถานที่  บางคนก็อยู่ฝ่ายลงทะเบียน  ทำให้เห็นว่าเพื่อนๆทุกคนมีความร่วมมือกัน และสามัคคีกันอย่างเห็นได้ชัด  จนทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีคะ









เก็บภาพการทำกิจกรรมปฐมวัยร่วมใจอนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทย




                

 ระบำดอกบัว          


     รำตังหวาย       





ระบำนางเงือก  
  


 จินตลีลา พ่อของแผ่นดิน
     



ระบำเกาหลี  






     

ระบำ 4 ภาค



 
   
 ระบำย้อนยุกต์    



 ละครสร้างสรรค์



 ระบำรับขวัญข้าว
                                                        

                      

ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 


ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 100 คะเเนน เข้าร่วมกิจกรรมตั้งเเต่ต้นจนจบงาน

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 100  คะเเนนเพราะเพื่อนๆช่วยกันทำงาน  มีการเเบ่งงาน และมีความสามัคคีกันทำงาน

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน  เเต่อาจารย์ให้นักศึกษาได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่ง  ดิฉันคิดว่าดี เพราะนักศึกษาจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  ให้คะเเนนอาจารย์ 100 คะเเนนเพราะเป็นการสอนแบบให้นักศึกษาได้หาความรู้ด้วยตนเอง  ได้รับสิ่งเเวดล้อมที่เเปลกใหม่คะ 

ฺ 

9 พฤศจิกายน 2557

สัปดาห์ที่ 13

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433



สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

   ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  วัตถุประสงค์  การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษประเภทดาว์นซินโดรม   การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษประเภทออทิสติก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์ของการส่งเสริมพัฒนาการ
- เด็กพัฒนาเต็มศักยภาพ  จนสามารถช่วยตนเองได้
- ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น   เตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิดแสดงออกอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาชีพได้
- เพื่อให้บิดามารดามีความรู้  และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บุตร
- เพื่อให้บิดามารดามีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุตร

เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
- เป้าหมายถั่วไป  เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่   ตนเอง   สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
- เป้าหมายเฉพาะ  เพื่อให้พัฒนาขึ้นตามขั้นตอนจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะยากขึ้น และเเสดงปฎิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเเวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ผลที่ได้รับจากการส่งเสริมพัฒนาการ
- เพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ  เช่น  การอ่าน  คณิตศาสตร์และภาษาดีขึ้น
- สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญหาพฤติกรรม  ลดผลของความพิการ
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น  สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น




       วัตถุประสงค์





Down"s  Syndrome



        เน้นการดูแล แบบองค์รวม ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ทั้งเพื่อน ครู ผู้ปกครอง และเเพทย์ 
- เพื่อสามารถให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับบุคคลปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม  ( Holistic Approach )

แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

1.ด้านสุขภาอนามัย
  - แนะนำบิดามารดาให้พาบุตรไปพบเเพทย์ตั้งเเต่เริ่มเเรก
  - ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ  เพื่อแพทย์จะได้ให้การรักษา และให้คำเเนะนำต่างๆ เช่น การให้คำเเนะนำปรึกษาทางพันธุศาสตร์   การวางแผนครอบครัว   ความเสี่ยงในการเกิดซ้ำของโรคในครอบครัวและการวินิจฉัยก่อนคลอด

2.การส่งเสริมพัฒนาการ
  - เด็กกลุมอาการดาว์นซินโดรมสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
  - แนะนำบิดามารดา  เรื่องความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการ  วิธีการฝึกฝนบุตรที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเพื่อให้มีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไป

3.การดำรงชีวิตประจำวัน
  - ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด  เพื่อให้สามารถไปเรียนและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
  - รู้จักควบคุมตนเอง  มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
  - ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและสามารถใช้บริการต่างๆในสังคมได้

4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น  การฝึกพูด  กายภาพบำบัด   กิจกรรมบำบัด
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
( Individualized Education  Program : IEP )
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  เช่น  การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน  การจดทะเบียนรับรองความพิการ
  - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การปฎิบัติของบิดามารดา

  - ยอมรับความจริง
  - เด็กดาว์นซินโดรมมีพัฒนาการเป็นขั้นตอน  เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  - ให้ความรักและความอบอุ่น
  - การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก  และเต้านม
  - การคุมกำเนิดและการทำหมัน
  - การสอนเพศศึกษา
  - ตรวจโรคหัวใจ  ลิ้นหัวใจรั่ว  ตรวจตั้งเเต่คลอดจะดี

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษประเภทดาว์นซินโดรม









Autistic


แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

1.ส่งเสริมความเข้มเเข็งครอบครัว
  - ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการช่วยเหลือดูแล
  - ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง  แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน
  - เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับออทิสติก
  - ทักษะต่้างๆของเด็กจะสั่งสมตามประสบการณ์
  - ไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดี
  - ค่อยๆพัฒนาวิธีการตามคำชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญ
2.ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  - ไม่มุ่งแก้ไขเฉพาะความบกพร่องเพียงด้านเดียว
  - มุ่งส่งเสริมความสามารถที่เด็กมีควบคู่ไปด้วย
  - เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำบ่อยๆ  แล้วสอนเพิ่มในเรื่องที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ตนเองทำได้
  - เสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
  - ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
  - ของเล่นเปลี่ยนบ่อยๆ
3.พฤติกรรมบำบัด
  - ส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่ต่อไป
  - หยุดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  - สร้างพฤติกรรมใหม่ที่ต้องการ
  - ช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา  ด้านสังคม  และทักษะอื่นๆ
  - ใช้พื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้
  - การให้เเรงเสริม
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
  - ยึดหลักและลำดับขั้นพัฒนาการของเด็กปกติ
  - ควรทำตั้งเเต่อายุน้อย  โดยต้องทำอย่างเข้มข้น  สม่ำเสมอ  และต่อเนื่องในระยะเวลาที่นานพอ
   - เหมาะสมตามสภาพปัญหา  ความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ของเเต่ละคนที่มีความเเตกต่างกัน
  - เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา  การมีสมาธิ  การฟัง  และทำตามคำสั่ง
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  - การแก้ไขการพูด
  - การสื่อความหมายทดแทน
  - กิจกรรมบำบัด
6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม  การสื่อสาร  และทักษะทางความคิด
  - เกิดผลดีในระยะยาว 
  - เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกทักษะทางวิชาการ
  - แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
  - โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง   โรงเรียนเรียนร่วม  ห้องเรียนคู่ขนาน
7.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  - การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน
  - การฝึกฝนทักษะทางสังคม
  - การสอนเรื่องราวทางสังคม
8.การรักษาด้วยยา 
  - เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นด้วย
  - เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน
  - ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการสื่อสารและสังคม 
  - เพื่อลดพฤติกรรมไม่มีสมาธิ  อยู่ไม่นิ่ง  หุนหันพลันเเล่น
9.การบำบัดทางเลือก
  - การสื่อความหมายทดแทน ( AAC ) 
  - ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy )
  - ดนตรีบำบัด ( Music  Therapy )
  - การฝังเข็ม ( Acupuncture )
  - การบำบัดด้วยสัตว์ ( Animal  Therapy )
   การสื่อความหมายทดแทน
  - การรับรู้ผ่านการมอง
  - โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
  - เครื่องโอภา
  - โปรแกรมปราศรัย
10.บทบาทความคิดของพ่อแม่
  - ลูกต้องพัฒนาได้
  - เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
  - ถ้าเราไม่รัก แล้วใครจะรัก
  - หยุดไม่ได้
  - ดูแลจิตใจร่างกายตนเองให้เข้มเเข็ง
  - ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
  - ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว



การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการพิเศษประเภทออทิสติก







ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 


ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 100 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่งกายเรียบร้อย  

ประเมินเพื่อน 

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 100  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียน 
 เชื่อฟังอาจารย์  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคน โต้ตอบ มีซักถามอาจาร์ยในเรื่องที่สงสัย

ประเมินครูผู้สอน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน 
เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย




2 พฤศจิกายน 2557

สัปดาห์ที่ 12

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433


  

    ในรายสัปดาห์นี้้อาจารย์ได้เฉลยข้อสอบทั้ง  60 ข้อที่นักศึกษาได้ทำการสอบไป เพื่อเป็นการทบทวนการสอนที่ได้เคยสอนมาอีกครั้งหนึ่ง และอาจารย์ได้บอกคะเเนนคะเเนนที่ดิฉันทำได้ คือ  36 คะเเนนเต็ม 60 เมื่อนำมาหารแล้วก็เหลือ 12 คะเเนนก็ไม่ค่อยพอใจคะเเนนที่ตนเองทำได้สักเท่าไหร่ และก็คิดว่าตนเองต้องมีความพยายามและมีความกระตือรือร้นมากกว่านี้ และควรตั้งใจเรียนและเอาใจใส่ต่อการเรียนมากกว่านี้่คะ


ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์



ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดเฉลยที่อาจารย์เฉลย  และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน  แต่ใส่กะโปรงสั้นผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน 

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียน  เชื่อฟังอาจารย์   และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคนเป็นส่วนใหญ่


ประเมินครูผู้สอน

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย