Rainbow Lucky Charms

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

28 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 6

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 22 กันยายน 2557
ครั้งที่ 6 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433





สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

    ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ   โรคที่มีความบกพร่องทางร่างกาย   เด็กที่มีความต้องการทางการพูดและภาษา   เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเเละสุขภาพรวมไปถึงลักษณะอาการต่างๆ  และโรคที่มีความบกพร่องทางร่างกาย   โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

เด็กที่มีความบกพร่องจากการพูดผิดปกติ   ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงเเต่งระดับ  และคุณภาพของเสียง จังหวะ  และขั้นตอนของเสียงพูด
1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
  - เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป เช่น ความ เป็น คาม 
  - เสียงเพี้นหรือแปลง เช่น แล้ว เป็น แล่ว
  - เพิ่มเสียงที่ไม่ถูกต้องลงไปด้วย เช่น หกล้อม เป็น หกกะล้อม
2.ความบกพร่องของจังหวะเเละขั้นตอนของเสียงพูด
  - พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน  ไม่ตามโครงสร้างของภาษา
  - การเว้นวรรคไม่ถูกต้อง
  - อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
3.ความบกพร่องของเสียงพูด
  - ความบกพร่องของระดับเสียง
  - เสียงดังหรือค่อยเกินไป
  - คุณภาพของเสียงไม่ดี
**อ่านออกเสียงไม่ได้  เขียนไม่ได้   สะกดคำไม่ได้  ไม่เข้าใจคำสั่ง  ถ้าอาการหนัก ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา คำนวณไม่ได้  เขียนไม่ได้  อ่านไม่ออก   
ลักษณะของเด็กทารก 
เงียบ  ร้องไห้เบาๆ และอ่อนเเรง ไม่พูดภายใน 2 ขวบ  ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน ออกเสียงสะกดไม่ได้








เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเเละสุขภาพ

เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดขาดหายไป  เจ็บป่วยเรื้อรัง  มีปัญหาทางระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว 
ลักษณะ
  - มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  - เดินคล้ายกรรไกร
  - เดินขากะเพลก
  - ไอเสียงเเห้งบ่อยๆ
  - ปวดหลัง เจ็บหน้าอก
  - หน้าเเดงง่าย
  - หกล้อมบ่อย
  - หิวและกระหายน้ำ

โรคที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

1.โรคลมชัก 
เป็นความผิดปกติของสมอง  ที่มีกระเเสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินไปปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
อาการ
1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ
  - อาการเหม่อลอย นิ่งเป็นเวลา 5-10 นาที
  - มีการกระพริบตา หรือเคี้ยวปาก
  - นิ่งเฉย ตัวสั่น
2. การชักแบบรุนเเรง
  - เด็กส่งเสียง หมดความรู้สึก
  - ล้มลง
  - เกร็งกล้ามเนื้อ
  - เกิดขึ้น 2-5 นาที จากนั้นจะหายและหลับไปชั่วครู่
3.อาการชักแบบ Partial Complax ไม่ค่อยอันตราย
  - มีอาการไม่เกิน 3 นาที
  - เหม่อนิ่ง
  - เหมือนรู้สึกตัวเเต่ไม่รับรู้ ไม่ตอบสนอง
  - หลังชัก จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ต้องการพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว
  - ระยะสั้นไม่รู้สึกตัว
  - ร้องเพลง
  - เหม่อลอย
  - แต่ไม่มีอาการชัก

โรคลมบ้าหมู
เกิดการชักจะหมดสติ  ในขระชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือเเขนขากระตุก  กัดฟัน กัดลิ้น

โรคซีพี
สมองพิการ บกพร่องทางร่างกาย  
สาเหตุ  
แม่กินเหล้ามาก  สูบบุหรี่

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
อาการไขสันหลังจะเป็นก้อนโค้ง อาการนี้จะทำให้เด็กเป็นอัมพาตได้

โรคโปลิโอ
เกิดจากเชื้อโรคเข้าทางปาก  เกิดจากอาหาร  น้ำ  สมองสติปัญญาปกติ

ระบบทางเดินหายใจ
เบาหวาน
หัวใจ
มะเร็ง
เลือดไหลไม่หยุด



 


ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์


ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง  70 คะเเนนเพราะ ไม่ได้ไปเรียนเพราะ ติดลากิจเพราะกลับบ้านไปงานศพน้องชาย  แต่มีการกระตือรือร้นในการสอบถามงานจากเพื่อน แล้วมาทำย้อนหลัง

ประเมินเพื่อน 
-

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน ถึงไม่ได้เข้าเรียนก็่รู้ว่าอาจาร์ยน่ารัก    และใจดี เพราะเป็นคนน่ารักนานแล้ว  

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

15 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 5

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 15 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

   ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง   และมีเนื้อหาการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

เด็ก L.D
คือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  หรือเรียกว่า แอลดี  อาการจะเห็นได้ชัดตอนอายุ 7 ขวบขึ้นไป  ส่วนมากเป็นในเด็กผู้ชาย  เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
สาเหตุ
- กรรมพันธ์
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
1.ด้านการอ่าน
- อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
- อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด
- ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน
- ออกเสียงไม่ชัด
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
2.ด้านการเขียน
- เขียนตัวอักษรผิด( บ ป ) ( น ม ) ( พ ผ ) ( ฟ ฝ) ( p q) ( b d) 
- จับดินสอ หรือปากกาแน่นมาก
- ลบบ่อย  เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3.ด้านการคำนวณ
  - ตัวเลขผิดลำดับ
  - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลข หรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  - ไม่เข้าใจเลขหลัก หน่วย สิบ ร้อย 
  - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ตีโจทย์เลขไม่ออก
  - ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
  - จำสูตรคูณไม่ได้
  - เขียนเลขกลับกัน 13 เป็น 31
4.หลายๆด้านรวมกัน
  - แยกแยะขนาดสี และรูปร่างไม่ออก
  - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  - ทำงานช้า
  - เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  - วางแผนงานเเละจัดระบบไม่ได้
  - ฟังคำสั่งสับสน
  - คิดแบบนามธรรมหรือคิดแบบแก้ปัญหาไม่ค่อยได้
  - ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  - ความจำระยะสั้น ระยะยาวไม่ดี
  - ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา 
  - ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน






ออทิสติก ( Autistic )

หรือ ออทิซึ่ม  หรือเด็กที่ไม่สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด  ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น   ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
พฤติกรรมการทำซ้ำ
  - นั่งเคาะโต๊ะ  หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  - นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  - วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งเเวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อยหนึ่งด้าน
  - ปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
  - การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  - การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
Autistic Savant
  - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ จะใช้การคิดแบบอุปนัย
  - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ จะใช้แบบนิรนัย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสัยงต่างๆได้ไม่ชัดเจน  มี 2 ประเภท คือ  หูตึง และหูหนวก

หูตึง

ใช้เครื่องช่วยฟัง  แต่สามารถรับข้อมูลได้
- ระดับน้อย ( 26-40dB ) เสียงกระซิบ  เสียงจากที่ไกลๆ
- ปานกลาง (41-55dB ) จับใจความไม่ได้
- ตึงมาก ( 56-70dB ) พูดดังก็ไม่ได้ยิน
- ตึงระดับมาก ( 71-90dB ) ต้องตะโกน

หูหนวก

เด็กที่สูญเสียการได้ยิน  เครื่องช่วยฟังก็ไม่มีประโยชน์  ไม่สามารถเข้าใจภาษาพูด  ระดับการได้ยิน  91dB ขึ้นไป  

ลักษณะ

ไม่ตอบสนอง ไม่มีปฏิกริยาโต้ตอบ  ไม่พูดมักแสดงท่าทาง  พูดไม่ถูกหลักไวยกรณ์  มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย  เวลาฟังมักมองปากผู้พูด

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

เป็นเด้กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง  มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง  สามารถมองไม่ได้ถึง  1/10 ของสายตาคนปกติ  มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา  จำเเนกได้ 2 ประเภท คือ  เด็กตาบอด  และเด็กตาบอดไม่สนิท 
เด็กตาบอด  
คือเด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย  ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้  มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดแคบกว่า 5 องศา   มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะทาง  6/60  2/200
เด็กตาบอดไม่สนิท
มองเห็นได้บ้าง  มีลานเฉลี่ยสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา 
6/18  20/60  2/200 หรือน้อยกว่านั้น



ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 



ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 100 คะเเนนเพราะ ตั้งใจจดงานจนมือหงิกเลยคะ

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 100 คะเเนนเพราะตั้งใจเรียo  เชื่อฟังอาจาร์ย  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคน

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา  พูดจาไพเราะ



                 

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

วันที่ 8 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 4

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 8 กันยายน 2557
ครั้งที่ 4 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433





สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

    ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง และได้ให้ความรู้ โดยบอกว่าเด็กพิเศษแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

เด็กพิเศษ

1. เด็กแอลดี  L.D
คือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  หรือเรียกว่า แอลดี  อาการจะเห็นได้ชัดตอนอายุ 7 ขวบขึ้นไป  ส่วนมากเป็นในเด็กผู้ชาย  เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

2.เด็กออทิสติก
หรือ ออทิซึ่ม  หรือเด็กที่ไม่สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด  ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น   ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

3.เด็กดาว์นซินโดรม
เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการเเต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าTrisomy 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า Translocation คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆ เดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า Mosaic







4.สมาธิสั้น

    โรคสมาธิสั้น (ADHD) ย่อมาจากคำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder
เป็นโรคที่พบได้ บ่อยในวัยเด็ก โดยที่เด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเอง
ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ แม้ระดับสติปัญญาจะปกติ มีปัญหาด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังพบว่าหนึ่งในสามของเด็กยังคงมีอาการอยู่บ้างหรือ
บางคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีอาการเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งยังเพิ่มโอกาสการเกิดพยาธิ สภาพทางจิต
อื่นๆ ตามมา

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness คือ มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติและมักจะวอกแวกง่าย (distractibility)
2. Hyperactivity คือ มีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsiveness คือ มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจในการทำอะไร
ต่างๆ


5.เด็กปัญญาเลิศ  


เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะในการคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์ เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านสามารถ สังเกตได้จากพฤติกรรมเหล่านี้


6.เด็กซีพี  


    เด็กซีพี  หมายถึง การพิการทางสมอง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง (เรียกกันว่า Dysarthria) ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย



ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 


ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่ใส่กะโปรงสั้นผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียน  เชื่อฟังอาจาร์ย  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคนเป็นส่วนใหญ่

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย
สุภาพ  อาจาร์ยใจดี สอนเข้าใจ


วันที่ 1 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 3


วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 1 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433







สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

    ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ พัฒนาการของเด็กพิเศษ  ประเภทเด็กพิเศษ  สาเหตุและประเภทของเด็กพิเศษ    อย่างได้ก็ตามสามารถดูจาก mapping ที่ดิฉันได้สรุปไว้ได้เลยคะ









ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 100 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่งกายเรียบร้อย  

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 100  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียบ  เชื่อฟังอาจาร์ย  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคน โต้ตอบ มีซักถามอาจาร์ยในเรื่องที่สงสัย

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย  สุภาพสะอาดตา




วันที่ 25 สิงหาคม 2557

สัปดาห์ที่ 2

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 25 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433







สรุปรายสัปดาห์
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้ดังต่อไปนี้

ประเภทของเด็กพิเศษ

1.เด็กแอลดี
2.เด็กซีพี
3.เด็กออทิสติก
4.เด็กสมาธิสั้น
5.เด็กดาว์นซินโดรม
6.เด็กปัญญาเลิศ

เด็กพิเศษมีความหมายหลากหลาย 


ความหมายของเด็กพิเศษ   

เด็กกลุ่มที่ต้องการการดูแล และความช่วยเหลือพิเศษ  เพิ่มเติมจากวิธีการปกติ  
ทางการเเพทย์เด็กพิเศษ  หมายถึง  เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง  หรือเรียกว่า  เด็กพิการ

ทางการศึกษาเด็กพิเศษ  หมายถึง  เด็กที่มีความพิเศษเฉพาะตน





ความรู้เพิ่มเติม

เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
  1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  2. เด็กที่มีความบกพร่อง
  3. เด็กยากจนและด้อยโอกาส
เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
  • เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
  • เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
  • เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์

2.เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
  • เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
  • เด็กที่มีความพิการซ้อน

3.เด็กยากจนและด้อยโอกาส
คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
คำว่า "เด็กพิเศษ" ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศษ






ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียบ  เชื่อฟังอาจาร์ย  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคน

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย  สุภาพสะอาดตา 



วันที่ 18 สิงหาคม 2557

สัปดาห์ที่ 1

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 18 สิงหาคม 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




สรุปรายสัปดาห์ 

         สัปดาห์นี้เป็นการเรียนในสัปดาห์เเรกก็ไม่มีอะไรมากมาย  อาจาย์ผู้สอนก็เเนะนำเกี่ยวกับการเรียนการสอนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการ  โดยพูดถึงกฎระเบียบ กติกาการอยู่ในชั้นเรียน  การเเต่งกาย  เกณฑ์การให้คะเเนน และโปรแกรมการเรียนการสอนในวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  ทั้งยังกล่าวเกิ่นนำเกี่ยวกับเด็กพิเศษไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในสัปดาห์ต่อไป







สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม

เด็กพิเศษ

เด็กพิเศษ หมายถึง  เด็กกลุ่มที่ต้องการการดูแล และความช่วยเหลือพิเศษ  เพิ่มเติมจากวิธีการปกติ  เเต่ละคนก็มักจะมีความเข้าใจเเตกต่างกันไป  บางคนนึกถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษ  บางคนก็นึกถึงเด็กที่มีความบกพร่อง

ประเภทของเด็กพิเศษ

1.เด็กซีพี
2.ดาว์นซินโดรม
3.ออทิสติก
4.สมาธิสั้น
5.แอลดี
6.ปัญญาเลิศ



ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน มีการจดงาน และตังใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 80 คะเเนนเพราะเเต่งกายไม่เหมือนกัน  แต่ตั้งใจเรียน

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย  สุภาพ