Rainbow Lucky Charms

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

15 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 5

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 15 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




สรุปความรู้ที่ได้รับรายสัปดาห์

   ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและเห็นจริง   และมีเนื้อหาการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

เด็ก L.D
คือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้  หรือเรียกว่า แอลดี  อาการจะเห็นได้ชัดตอนอายุ 7 ขวบขึ้นไป  ส่วนมากเป็นในเด็กผู้ชาย  เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
สาเหตุ
- กรรมพันธ์
- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
1.ด้านการอ่าน
- อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
- อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด
- ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน
- ออกเสียงไม่ชัด
- ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
2.ด้านการเขียน
- เขียนตัวอักษรผิด( บ ป ) ( น ม ) ( พ ผ ) ( ฟ ฝ) ( p q) ( b d) 
- จับดินสอ หรือปากกาแน่นมาก
- ลบบ่อย  เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3.ด้านการคำนวณ
  - ตัวเลขผิดลำดับ
  - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลข หรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  - ไม่เข้าใจเลขหลัก หน่วย สิบ ร้อย 
  - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ตีโจทย์เลขไม่ออก
  - ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
  - จำสูตรคูณไม่ได้
  - เขียนเลขกลับกัน 13 เป็น 31
4.หลายๆด้านรวมกัน
  - แยกแยะขนาดสี และรูปร่างไม่ออก
  - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  - ทำงานช้า
  - เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  - วางแผนงานเเละจัดระบบไม่ได้
  - ฟังคำสั่งสับสน
  - คิดแบบนามธรรมหรือคิดแบบแก้ปัญหาไม่ค่อยได้
  - ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  - ความจำระยะสั้น ระยะยาวไม่ดี
  - ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา 
  - ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน






ออทิสติก ( Autistic )

หรือ ออทิซึ่ม  หรือเด็กที่ไม่สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด  ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น   ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
พฤติกรรมการทำซ้ำ
  - นั่งเคาะโต๊ะ  หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  - นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  - วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งเเวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อยหนึ่งด้าน
  - ปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
  - การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  - การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
Autistic Savant
  - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ จะใช้การคิดแบบอุปนัย
  - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ จะใช้แบบนิรนัย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  หรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสัยงต่างๆได้ไม่ชัดเจน  มี 2 ประเภท คือ  หูตึง และหูหนวก

หูตึง

ใช้เครื่องช่วยฟัง  แต่สามารถรับข้อมูลได้
- ระดับน้อย ( 26-40dB ) เสียงกระซิบ  เสียงจากที่ไกลๆ
- ปานกลาง (41-55dB ) จับใจความไม่ได้
- ตึงมาก ( 56-70dB ) พูดดังก็ไม่ได้ยิน
- ตึงระดับมาก ( 71-90dB ) ต้องตะโกน

หูหนวก

เด็กที่สูญเสียการได้ยิน  เครื่องช่วยฟังก็ไม่มีประโยชน์  ไม่สามารถเข้าใจภาษาพูด  ระดับการได้ยิน  91dB ขึ้นไป  

ลักษณะ

ไม่ตอบสนอง ไม่มีปฏิกริยาโต้ตอบ  ไม่พูดมักแสดงท่าทาง  พูดไม่ถูกหลักไวยกรณ์  มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย  เวลาฟังมักมองปากผู้พูด

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

เป็นเด้กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง  มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง  สามารถมองไม่ได้ถึง  1/10 ของสายตาคนปกติ  มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา  จำเเนกได้ 2 ประเภท คือ  เด็กตาบอด  และเด็กตาบอดไม่สนิท 
เด็กตาบอด  
คือเด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย  ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้  มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดแคบกว่า 5 องศา   มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะทาง  6/60  2/200
เด็กตาบอดไม่สนิท
มองเห็นได้บ้าง  มีลานเฉลี่ยสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา 
6/18  20/60  2/200 หรือน้อยกว่านั้น



ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 



ประเมินตนเอง  
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 100 คะเเนนเพราะ ตั้งใจจดงานจนมือหงิกเลยคะ

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 100 คะเเนนเพราะตั้งใจเรียo  เชื่อฟังอาจาร์ย  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคน

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา  พูดจาไพเราะ



                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น