Rainbow Lucky Charms

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

24 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 10

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 20 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




      ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการเรียนการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและได้เห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   สมาธิสั้น  เด็กพิการซับซ้อน   และภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมระดับรุนเเรง  โดยมีเนื้อหาความรู้ดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ลักษณะอาการ
  - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
  - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติไม่ได้
  - เด็กที่ควบคุมอาการบางอย่างของตนเองไม่ได้
  - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบง่าย
*** ชอบมโนไปเอง  ระเเวง  หงุดหงิด  ทำร้ายผู้อื่นเพราะหมั่นไส้  ยึดอารมณืเป็นที่ตั้ง    ไม่มั่นใจในตนเอง
ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  - ความวิตกกังวล  ซึ่งทำให้เด้กมีนิสัยขี้กลัว
  - ภาวะซึมเศร้า  มีความซึมเศร้าในระดับสูง
  - ปัญหาทางสุขภาพ  และขาดเเรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำเเนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
  1. ด้านความประพฤติ
   - ทำร้ายผู้อื่น  ทำร้ายสิ่งของ  ลักทรัพย์
   - ฉุนเฉียวง่าย  หุนหันพลันเเล่น  และเกรียวกราด
   - กลับกลอก  เชื่อถือไม่ได้  ชอบโกหก  ชอบโทษผู้อื่น
   - เอะอะและหยาบคาย
   - หนีเรียน  รวมถึงหนีออกจากบ้าน
   - ใช้สารเสพติด
   - หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
  2. ด้านความตั้งใจและสมาธิ
   - จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น  อาจไม่เกิน  20  นาที
   - ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
   - งัวเงีย  ไม่เเสดงความสนใจ  รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น ( Attention Deficit )
ลักษณะอาการ
   - มีลักษณะกระวนกระวาย  ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้  หยุกหยิกไปมา
   - พูดคุยตลอดเวลา   มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
   - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก
   - หลีกเลี่ยงการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น 
   - เฉื่อยชา  และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
   - ขาดความมั่นใจ ขี้อาย  ขี้กลัว  ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติของการทำงานในร่างกาย
   - ความผิดปกติของพฤติกรรมการกิน
   - อาเจียนโดยสมัครใจ
   - การปฎิเสธที่จะรับประทาน
   - รับปะทานสิ่งที่รับปะทานไม่ได้
   - โรคอ้วน
   - ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนเเรง
   - ขาดเหตุผลในการคิด
   - อาการหลงผิด
   - อาการประสาทหลอน
   - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
   - ยึดอารมณ์เป็นที่ตั้ง
สาเหตุ
   - ปัจจัยทางชีวภาพ
   - ปัจจัยทางจิตสังคม  เพื่อน  ครู  เพื่อน  สังคม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
   - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
   - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
   - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
   - มีความคับข้องใจ  เก็บกดอารมณ์
   - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น  ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
   - มีความหวาดกลัว





เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนเเรงมาก
1.เด็กสมาธิสั้น
2.เด็กออทิสติก

เด็กสมาธิสั้น

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช   มีลักษณะเด่นอยู่ 3  ประการคือ
1.ไม่มีสมาธิ
2.อยู่ไม่นิ่ง
3.ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ
สมาธิสั้น  Inattentiveness 
   - ทำอะไรได้ไม่นาน
   - ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
   - มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
   - เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน  เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
   - เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง  ทำงานตกหล่น  ไม่ครบ  ไม่ละเอียด
***  กิจที่จัดให้ควรเป็นกิจกรรมช้าๆ  และมีจุดมุ่งหมายเสมอ
ซนอยู่ไม่นิ่ง Hyperactivity
   - ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
   - เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
   - เหลียวซ้ายเเลขวา
   - ยุกยิก  เกาะโน่นเกานี่
   - อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
   - นั่งไม่ติดที่
   - ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
หุนหันพลันเเล่น  Impulsiveness
   - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้
   - ขาดความยับยั้งชั่งใจ
   - ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
   - ไม่อยู่ในกติกา
   - ทำอะไรค้อนข้างรุนเเรง
   - พูดโพล่ง  ทะลุกลางปล้อง
   - ไม่ค่อยรอคอยให้ผู้อื่นพูดจบก่อน  ชอบมาสอดเเทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
   - ความปกติของสารเคมีในสมอง  เช่น  โดปามีน  นอร์อิพิเนฟริน
   - ความผิดปกติของวงจรที่ควบคุมสมาธิ
   - พันธุกรรม
   - สิ่งเเวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
   - สมาธิสั้น  ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี   ตามใจมากเกินไป  หรือปล่อยปะละเลยมากเกินไป  ไม่สนใจ  ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมสมาธิของเด็ก  * เกิดที่ตัวเด็กไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย
   - Methylphenidate
   - Atomoxetine
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   - อุจจาระ  ปัสสาวะรดเสื้อผ้า  หรือที่นอน
   - ยังติดขวดนม  หรือตุ๊กตา  หรือของใช้ในวัยทารก
   - ดูดเล็บ  กัดเล็บ
   - หงอยเหงาซึมเศร้า
   - เรียกร้องความสนใจ
   - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
   - ขี้อิจฉาริษยา  ก้าวร้าว
   - ฝันกลางวัน
   - พูดเพ้อเจ้อ
   - ไม่ชอบนอนคนเดียว
   - ขี้กลัว

เด็กพิการซ้อน
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง  เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้
   - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
   - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
   - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน 
ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่ใส่กะโปรงสั้นผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียน  
เชื่อฟังอาจารย์  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคนเป็นส่วนใหญ่

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน
เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย
สุภาพ  อาจาร์ยใจดี สอนเข้าใจ

            

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

13 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 9

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 13 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433


                         


    ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการเรียนการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและ/ได้เห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียน  และเด็กออทิสติก   ซึ่งทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติกมาก  และในการประกอบวิชาชีพในอนาคตจะมีการรับมือกับเด็กออทิสติกที่ถูกต้องอย่างไร   โดยมีเนื้อหาความรู้ดังนี้


เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้


( children  with  Learning Disabilities )

เรียกย่อๆ ว่า L.D เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน  เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ  หรือความบกพร่องทางร่างกาย ส่วนมากเป็นในเด็กผู้ชาย  เห็นชัดตอนประถมศึกษา  อายุประมาณ 7 ขวบขึ้น
สาเหตุของ  L.D
  - ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
  - กรรมพันธุ์
1.ด้านร่างกาย
  - อ่านหนังสือช้า  ต้องสะกดทีละคำ
  - อ่านออกเสียงไม่ชัด  ออกเสียงผิด  หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  - ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
เช่น
จาน - จาง 
ง่วง - ม่วม  ม่ง ง่ง
เลย - เฉย 
โบราณ - โบรา
หนังสือ - สือ
อรัญ - อะรัย
2.ด้านการเขียน
  - ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนเข้าหรืออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  - เรียงลำดับตัวอักษรผิด  เช่น สถิติ  เป็น สติถิ
  - เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน ( ม น ) ( ภ ถ ) ( พ ผ ) ( b d)( p q) 
  - เขียนพยัยชนะ ก-ฮ ไม่ได้ เเต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  - เขียนพยัญชนะหรือตัวเอลขกลับด้าน  คล้ายมองจากกระจกเงา
  - เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  - จับดินสอหรือปากกาเเน่นมาก
  - สะกดคำผิดโดยเฉพาะคำพร้องเสียง ตัวสะกดเเม่เดียวกัน  ตัวการันต์
  - เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  - เขียนไม่ตรงบรรทัด  ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน  ไม่เว่นขอบ  ไม่เว้นช่องไฟ
  - ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
3.ด้านการคำนวณ
  - ตัวเลขผิดลำดับ
  - ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลข หรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  - ไม่เข้าใจเลขหลัก หน่วย สิบ ร้อย 
  - แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ตีโจทย์เลขไม่ออก
  - ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
  - จำสูตรคูณไม่ได้
  - เขียนเลขกลับกัน 13 เป็น 31
4.หลายๆด้านรวมกัน
  - แยกแยะขนาดสี และรูปร่างไม่ออก
  - มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  - ทำงานช้า
  - เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  - วางแผนงานเเละจัดระบบไม่ได้
  - ฟังคำสั่งสับสน
  - คิดแบบนามธรรมหรือคิดแบบแก้ปัญหาไม่ค่อยได้
  - ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  - ความจำระยะสั้น ระยะยาวไม่ดี
  - ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา 
  - ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน






ออทิสติก ( Autistic )

หรือ ออทิซึ่ม  หรือเด็กที่ไม่สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด  ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น   ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
พฤติกรรมการทำซ้ำ
  - นั่งเคาะโต๊ะ  หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  - นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  - วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  - ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งเเวดล้อม
พบความผิดปกติอย่างน้อยหนึ่งด้าน
  - ปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
  - การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  - การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
Autistic Savant
  - กลุ่มที่คิดด้วยภาพ จะใช้การคิดแบบอุปนัย
  - กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ จะใช้แบบนิรนัย

           

ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน 
เพราะตั้งใจเรียน ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลา
อาจาร์ยสอน แต่ใส่กะโปรงสั้นผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนน
เพราะตั้งใจเรียน  เชื่อฟังอาจารย์สอน   
และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคนเป็นส่วนใหญ่
 เเต่เวลาเรียนมีการพูดคุยส่งเสียงดัง

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน 
เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย
สุภาพ  อาจารย์ใจดี และสอนเข้าใจง่าย


6 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 8

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 6 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




* ในรายสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค









29 กันยายน 2557

สัปดาห์ที่ 7

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 29 กันยายน 2557
ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433





* ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเข้ารับชมโครงการของพี่ปอ ทฤษฎี สหวงศ์