Rainbow Lucky Charms

วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

24 ตุลาคม 2557

สัปดาห์ที่ 10

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจาร์ยผู้สอน อาจาร์ยตฤณ   เเจ่มถิ่น
วันที่ 20 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน  103
เวลาเรียน  11.30 - 14.00 น.  ห้อง  433




      ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้จากอันเซอชีท  และเพาเวอร์พ้อยที่อาจารย์เตรียมมา  มีทั้งรูปภาพมาประกอบการเรียนการสอน  อีกทั้งวีดีโอมาให้นักศึกษาได้ดูและได้เห็นจริง  โดยในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   สมาธิสั้น  เด็กพิการซับซ้อน   และภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมระดับรุนเเรง  โดยมีเนื้อหาความรู้ดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ลักษณะอาการ
  - มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  - แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
  - มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกติไม่ได้
  - เด็กที่ควบคุมอาการบางอย่างของตนเองไม่ได้
  - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบง่าย
*** ชอบมโนไปเอง  ระเเวง  หงุดหงิด  ทำร้ายผู้อื่นเพราะหมั่นไส้  ยึดอารมณืเป็นที่ตั้ง    ไม่มั่นใจในตนเอง
ลักษณะที่เด่นชัดของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  - ความวิตกกังวล  ซึ่งทำให้เด้กมีนิสัยขี้กลัว
  - ภาวะซึมเศร้า  มีความซึมเศร้าในระดับสูง
  - ปัญหาทางสุขภาพ  และขาดเเรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำเเนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
  1. ด้านความประพฤติ
   - ทำร้ายผู้อื่น  ทำร้ายสิ่งของ  ลักทรัพย์
   - ฉุนเฉียวง่าย  หุนหันพลันเเล่น  และเกรียวกราด
   - กลับกลอก  เชื่อถือไม่ได้  ชอบโกหก  ชอบโทษผู้อื่น
   - เอะอะและหยาบคาย
   - หนีเรียน  รวมถึงหนีออกจากบ้าน
   - ใช้สารเสพติด
   - หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
  2. ด้านความตั้งใจและสมาธิ
   - จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น  อาจไม่เกิน  20  นาที
   - ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
   - งัวเงีย  ไม่เเสดงความสนใจ  รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น ( Attention Deficit )
ลักษณะอาการ
   - มีลักษณะกระวนกระวาย  ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้  หยุกหยิกไปมา
   - พูดคุยตลอดเวลา   มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
   - มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก
   - หลีกเลี่ยงการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น  และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น 
   - เฉื่อยชา  และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
   - ขาดความมั่นใจ ขี้อาย  ขี้กลัว  ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติของการทำงานในร่างกาย
   - ความผิดปกติของพฤติกรรมการกิน
   - อาเจียนโดยสมัครใจ
   - การปฎิเสธที่จะรับประทาน
   - รับปะทานสิ่งที่รับปะทานไม่ได้
   - โรคอ้วน
   - ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนเเรง
   - ขาดเหตุผลในการคิด
   - อาการหลงผิด
   - อาการประสาทหลอน
   - พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
   - ยึดอารมณ์เป็นที่ตั้ง
สาเหตุ
   - ปัจจัยทางชีวภาพ
   - ปัจจัยทางจิตสังคม  เพื่อน  ครู  เพื่อน  สังคม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
   - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
   - รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
   - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
   - มีความคับข้องใจ  เก็บกดอารมณ์
   - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น  ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
   - มีความหวาดกลัว





เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนเเรงมาก
1.เด็กสมาธิสั้น
2.เด็กออทิสติก

เด็กสมาธิสั้น

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช   มีลักษณะเด่นอยู่ 3  ประการคือ
1.ไม่มีสมาธิ
2.อยู่ไม่นิ่ง
3.ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ
สมาธิสั้น  Inattentiveness 
   - ทำอะไรได้ไม่นาน
   - ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
   - มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
   - เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน  เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
   - เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง  ทำงานตกหล่น  ไม่ครบ  ไม่ละเอียด
***  กิจที่จัดให้ควรเป็นกิจกรรมช้าๆ  และมีจุดมุ่งหมายเสมอ
ซนอยู่ไม่นิ่ง Hyperactivity
   - ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
   - เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา 
   - เหลียวซ้ายเเลขวา
   - ยุกยิก  เกาะโน่นเกานี่
   - อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
   - นั่งไม่ติดที่
   - ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
หุนหันพลันเเล่น  Impulsiveness
   - ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้
   - ขาดความยับยั้งชั่งใจ
   - ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
   - ไม่อยู่ในกติกา
   - ทำอะไรค้อนข้างรุนเเรง
   - พูดโพล่ง  ทะลุกลางปล้อง
   - ไม่ค่อยรอคอยให้ผู้อื่นพูดจบก่อน  ชอบมาสอดเเทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
   - ความปกติของสารเคมีในสมอง  เช่น  โดปามีน  นอร์อิพิเนฟริน
   - ความผิดปกติของวงจรที่ควบคุมสมาธิ
   - พันธุกรรม
   - สิ่งเเวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
   - สมาธิสั้น  ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี   ตามใจมากเกินไป  หรือปล่อยปะละเลยมากเกินไป  ไม่สนใจ  ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมสมาธิของเด็ก  * เกิดที่ตัวเด็กไม่ใช่ความผิดของพ่อแม่
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย
   - Methylphenidate
   - Atomoxetine
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
   - อุจจาระ  ปัสสาวะรดเสื้อผ้า  หรือที่นอน
   - ยังติดขวดนม  หรือตุ๊กตา  หรือของใช้ในวัยทารก
   - ดูดเล็บ  กัดเล็บ
   - หงอยเหงาซึมเศร้า
   - เรียกร้องความสนใจ
   - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
   - ขี้อิจฉาริษยา  ก้าวร้าว
   - ฝันกลางวัน
   - พูดเพ้อเจ้อ
   - ไม่ชอบนอนคนเดียว
   - ขี้กลัว

เด็กพิการซ้อน
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง  เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้
   - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
   - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
   - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด


ประเมินผลการเรียนรายสัปดาห์ 

ประเมินตนเอง  

ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนตัวเอง 90 คะเเนน เพราะตั้งใจเรียน 
ตั้งใจจดงาน และตั้งใจฟังเวลาอาจาร์ยสอน แต่ใส่กะโปรงสั้นผิดระเบียบ

ประเมินเพื่อน 
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะแนนเพื่อน 90  คะเเนนเพราะตั้งใจเรียน  
เชื่อฟังอาจารย์  และเเต่งกายถูกระเบียบทุกคนเป็นส่วนใหญ่

ประเมินครูผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้ให้คะเเนนอาจาร์ย 100 คะเเนน
เพราะอาจาร์ยมาสอนตรงเวลา และเเต่งกายเรียบร้อย
สุภาพ  อาจาร์ยใจดี สอนเข้าใจ

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น